ในปัจจุบันการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในงานวิศวกรรมทุกสาขา ทั้งในแง่ของการออกแบบเบื้องต้น การออกแบบละเอียด การช่วยคำนวณ การประมวลผล และการสร้างแบบทดสอบเบื้องต้นก่อนสร้างงานจริง ดังนั้นภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลจึงได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการการคำนวณและการจำลองทางคอมพิวเตอร์ขั้นสูงขึ้น เพื่อใช้ฝึกสอนแก่นักศึกษาและใช้ในการทำวิจัย โดยมีโปรแกรมคำนวณหลัก 2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรม ABAQUS ซึ่งใช้เทคนิคการคำนวณทาง Finite Element และอีกโปรแกรมคือ โปรแกรม FLUENT ซึ่งใช้เทคนิคการคำนวณทาง CFD (Computational Fluid Dynamics)

ลักษณะการใช้งานของห้องปฏิบัติการนี้เป็นลักษณะการศึกษาด้วยตนเองเป็นหลัก โดยอาจมีการบรรยายเป็นบางโอกาสเพื่อปูพื้นให้แก่นักศึกษาในเบื้องต้น

 

 

ศาสตร์ทางอุณหพลศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพลังงานความร้อน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานเชิงวิศวกรรมมากมาย เช่น การออกแบบระบบปรับอากาศ การทำความเย็น การออกแบบเครื่องยนต์เผาใหม้ต่างๆ ตลอดจนการคำนวณขนาดผนังอาคารที่เหมาะสมเพื่อป้องกันอากาศร้อน เป็นต้น ความรู้ทางด้านอุณหพลศาสตร์นับเป็นความรู้ที่สำคัญอีกด้านหนึ่งสำหรับ นักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกล ห้องปฏิบัติการนี้ใช้ในการประกอบการศึกษาทางด้านอุณหพลศาสตร์โดยเฉพาะเพื่อ ให้นักศึกษาได้เห็นภาพและเข้าใจอย่างถ่องแท้มากขึ้น ตัวอย่างเครื่องมือในห้องปฏิบัติการนี้ได้แก่

ลำดับ เครื่องมือและชุดทดลอง

รูปภาพ

1 ชุดทดลองการถ่ายเทความร้อนแบบคอนเวค (Heat Convection Unit)
2 เครื่องสาธิตและทดลองการนำความร้อนของวัสดุ (Heat Conduction Unit)
3 เครื่องสาธิตและทดลองการถ่ายเทความร้อนของไอน้ำและน้ำ (Steam to Water Heat Exchanger)
4 เครื่องสาธิตและทดลองการถ่ายเทความร้อนแบบไหลขวาง (Cross Flow Heat Exchanger)
5 เครื่องสาธิตและทดลองหอทำความเย็นแบบตั้งโต๊ะ (Bench Top Cooling Tower)
6 ชุดศึกษาเครื่องปรับอากาศ (Air Conditioning Study Unit)
7 ชุดทดลองเครื่องทำความเย็นแบบปั๊มความร้อน (Refrigeration and Air Conditioning Unit with Heat Pump)
8 ชุดสาธิตการกำเหนิดไฟฟ้าแบบกังหันไอน้ำ (Steam Turbine Generator)
9 ชุดสาธิตปัญหาและการแก้ไขสำหรับหม้อไอน้ำ (Boiler Simulation with Check and Fault Generator)
10 ชุดบอมบ์แคลอรีมิเตอร์ (Bomb Calorimeter)
11 ชุดทดลองเครื่องจักรกังหันแก๊ส (Two Shafts Gas Turbine Unit)
12 ชุดทดลองเครื่องจักรกังหันแบบฟรานซีส (Turbine Francis Compact)
13 เครื่องทดลองหาค่าความร้อนของแก๊ส (Boy’s Calorimeter)
14 ชุดทดลองระบบผลิตและจ่ายไอน้ำ (Boiler)


     

เครื่องจักรกลที่ใช้งานกับของไหลนับเป็นเครื่องจักรที่สำคัญอย่างยิ่งในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ตัวของของเครื่องจักรเหล่านี้ได้แก่ พัดลมแบบต่างๆ ปั๊มแบบต่างๆ และเทอร์ไบน์ เป็นต้น โดยเครื่องจักรกลของไหลแต่ละชนิดมักมีคุณลักษณะเฉพาะตัว ดังนั้นในการเลือกใช้งานจึงต้องการความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องจักรเหล่านี้อย่างถ่องแท้

ห้องปฏิบัติการเครื่องจักรกลของไหลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสาธิตและ การเรียนการสอนเกี่ยวกับเครื่องจักรกลของไหลต่างๆ โดยมีตัวอย่างของเครื่องมือดังนี้

ลำดับ เครื่องมือและชุดทดลอง

รูปภาพ

1 ชุดทดสอบสมรรถนะพัดลมแบบหอยโข่ง (Centrifugal Blower Performance Test Set)
2 ชุดทดสอบสมรรถนะเครื่องสูบน้ำ (Pump Performance Test Set)
3 ชุดทดสอบสมรรถนะเครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่งหลายชั้น (Multi-Stage Centrifugal Pump Test Set)
4 เครื่องทดสอบสมรรถนะเครื่องอัดอากาศแบบ 2 ระดับ (Two Stage Air Compressor Test Set)
5 ชุดสาธิตการทำงานขิงกังหันแบบเพลตัน (Pelton Action Turbine Set)  
6 เครื่องวัดความหนืดของน้ำมัน (Viscometer)
7 เครื่องสาธิตและทดลองการทำงานของปั๊มและเทอร์ไบน์แบบไหลตามแนวแกน (Axial Flow Pump and Turbine Test)


     

วิศวกรรมยานยนต์เป็นอีกหนึ่งสาขาที่มีความสำคัญของวิศวกรรมเครื่องกล จะเห็นได้จากการที่วิศวกรเครื่องกลมักได้รับการคาดหวังว่าควรมีความรู้ เกี่ยวกับยานยนต์อยู่เสมอ นอกจากนี้เนื่องจากประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และรถยนต์ในปริมาณที่สูงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับยานยนต์กำลังเติบโตอย่างมาก ดังนั้นห้องปฏิบัติการวิศวกรรมยานยนต์จึงถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการ เรียนการสอน ให้ความรู้เกี่ยวกับยานยนต์ต่างๆ โดยมีตัวอย่างเครื่องมือดังนี้

ลำดับ เครื่องมือและชุดทดลอง

รูปภาพ

1 เครื่องขัดหัวเทียนแบบทรายเป่า
2 เครื่องทดสอบสมรรถนะของรถยนต์ (Engine Performance Tester)
3 เครื่องวิเคราะห์สภาพการจุดระเบิด (Ignition Test Unit)
4 เครื่องคว้านกระบอกสูบ
5 เครื่องวัดแรงบิด (Break Horse Power Tester)
6 เครื่องสาธิตและทดสอบสมรรถนะของระบบหัวฉีด (Nozzle Performance Test Set)
7 เครื่องสาธิตและทดลองการกระจายตัวความดันของหัวฉีด (Nozzle Pressure Distribution Unit)
8 ห้องศึกษาด้วยตนเองด้านวิศวกรรมยานยนต์ (Automotive Laboratory Self Access Lab)
9 เครื่องทดสอบและวิเคราะห์ระบบเครื่องยนต์ดีเซล (Diesel Engine Analyzer)
10 เครื่องสาธิตและทดลองกำลังของเครื่องยนต์กระบอกสูบเดียวแบบปรับตั้งอัตราส่วนการอัดได้  


     

เป็นห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการเรียนการสอน และทำการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีการอบแห้ง ประกอบด้วยเครื่องอบแห้งแบบต่างๆ งานวิจัยที่ศึกษาในห้องวิจัยนี้ได้แก่เทคนิคการอบแห้งผลิตผลทางการเกษตรแบบต่างๆ เช่น เนื้อแห้ง พริกแห้ง เป็นต้น ตัวอย่างเครื่องมือในห้องปฏิบัติการนี้ได้แก่

ลำดับ     เครื่องมือและชุดทดลอง    
รูปภาพ

1     ตู้อบแห้งแบบไฟฟ้า (Electrical Drying Chamber)    
2     ชุดสาธิตและทดลองศึกษาการอบแห้งแบบตู้โดยมีลมไหลผ่านอย่างต่อเนื่อง    
3     ชุดสาธิตและทดลองศึกษาการอบแห้งแบบฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidized Bed Dryer)    
4     ชุดสาธิตและทดลองศึกษาการอบแห้งแบบแช่แข็ง    
5     ชุดสาธิตและทดลองศึกษาการอบแห้งแบบหมุน (Centrifugal Dryer)    
6     ชุดสาธิตและทดลองศึกษาการอบแห้งแบบสุญญากาศ (Vacuums Dryer)   

หมวดหมู่รอง