เรื่องดีๆที่อยากบอกต่อ ตอนที่ 1 ป้องกันอัคคีภัย

วันนี้ (วันที่เขียน)ได้มีโอกาส ไปอบรม เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้น  รู้สึกมีประโยชน์มากเลยอยากเอามาเล่าต่อ เผื่อใครสนใจ ที่จริงก็ทราบอยู่แล้ว ว่าคณะของเรามีการจัดการระบบการป้องกันอัคคีถัยเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่าบุคลากรเจ้าหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้อง อย่างเช่นผมเอง ไม่ค่อยรู้เรื่องอาไรเลย เลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟัง หรือดีๆหน่อยอาจถึงขั้น ช่วยกันพัฒนาระบบการป้องกันเลย ดีมะ (ว่าไปนั่น)

ความรู้ที่ได้มาอยากจะเล่าสัก 3 ข้อที่จริงได้มาเยอะแต่แบ่งๆรวมๆ น่าจะประมาณนี้

1. การป้องกัน           2. ชนิดของไฟ        3. ชนิดของอุปกรณ์ดับไฟ

1. การป้องกัน  ความรู้ทั่วไป ก็ประมาณเรื่องถ้าเกิดไฟใหม้ต้องทำอย่างไร ป้องกันอย่างไร เช่น ถ้าความร้อนระอุ เห็นควันขาวๆ ผลุบเข้าผลุบออก ห้ามเปิดประตู เอาออกซิเจนเข้า เพราะความร้อนข้างในจะละเบิดออกมาทำให้ไฟโหมแรงกว่าเดิม หรือให้คลามต่ำๆ ออกจากที่เกิดไฟใหม้ เพราะข้างล่างอากาศเย็นกว่า (ร้อนน้อยกว่าบนเพดาน) และควันขึ้นไปอยู่ด้านบน  ถ้ามองไม่เห็นเนื่องจากควันเยอะให้หาทางออกจากห้อง(ในกรณีอยู่ในอาคาร) โดยการจับผนังวนซ้าย หรือขาวเรื่อยๆ จะออกง่ายกว่า

ไฟใหม้ใช้เวลาเริ่มก่อตัวจนเกินดับด้วยตัวเองได้ ใช้เวลา 4 นาที ถ้าเรามีสติ รู้จักชนิดของไฟ และมีอุปกรณ์ดับไฟที่ถูกชนิด เราเองก็สามารถดับด้วยตัวเราเองได้ เพราะกว่าที่รถดับเพลิงจะมาก็อาจจะศูนย์เสียมากแล้ว

2. ชนิดของไฟ แบ่งตามมาตรฐาน NFPA ของประเทศอเมริกา แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

เพลิงไหม้แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามลักษณะเชื้อเพลิง ซึ่งมีวิธีการดับและใช้เครื่องดับเพลิง  ที่แตกต่างกัน คือ

1)เพลิงไหม้ประเภท ก. คือ เพลิงที่เกิดจากวัตถุไหม้ไฟได้โดยทั่วไป เช่น กระดาษ ไม้ ผ้า ยาง พลาสติก เป็นต้น การดับจะใช้หลักความเย็น และความเปียกชื้นคลุมทับ ควรใช้เครื่องดับเพลิงที่มีสัญลักษณ์ ตัวอักษร A สีขาวอยู่บนพื้นสามเหลี่ยมสีเขียว
2)เพลิงไหม้ประเภท ข. คือ เพลิงที่เกิดจากของเหลว หรือก๊าซติดไฟ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบนซิน จาระบี ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น การดับใช้หลักการตัดออกซิเจน หรือตัดเปลวไฟ ควรใช้เครื่องดับเพลิงที่มีสัญลักษณ์ตัวอักษร B สีขาว อยู่บนพื้นสี่เหลี่ยมสีแดง
3)เพลิงไหม้ประเภท ค. คือ เพลิงที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟไหลเวียนอยู่ การดับต้องใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติไม่เป็นสื่อไฟฟ้า ควรใช้เครื่องดับเพลิงที่มีสัญลักษณ์ตัวอักษร C สีขาวบนพื้น   วงกลมสีฟ้า เครื่องดับเพลิงชนิดนี้สามารถใช้ดับเพลิงประเภท ก. และ ข. ได้ด้วย ควรใช้เครื่องดับเพลิงที่มีสัญลักษณ์  ตัวอักษร C สีขาวบนพื้นรูปวงกลมสีฟ้า
4) เพลิงไหม้ประเภท ง. คือ เพลิงที่เกิดกับโลหะที่ติดไฟได้ เช่น แมกนีเซียม โพแทสเซียม ไทเทเนียม เป็นต้น การดับจะต้องใช้ผงเคมีแห้ง ซึ่งดับเพลิงที่เกิดกับโลหะได้ ควรใช้เครื่องดับเพลิงที่มีสัญลักษณ์  ตัวอักษร D สีขาวบนพื้นรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง
5)เพลิงไหม้ประเภท K. คือ เพลิงที่เกิดจากเครื่องปรุงอาหารประเภทน้ำมันสำหรับทอดอาหาร   ไอร้อนจากการปรุงอาหารที่สะสมจับตัวกันเป็นยางเหนียวเกาะติดตามผนัง ท่อระบายควัน การดับจะใช้สารโพแทสเซียมอะซิเตทผสมน้ำ เรียกว่า Wet Chemical เป็นเครื่องดับเพลิงที่มีสัญลักษณ์ตัวอักษร K สีขาวบนรูป แปดเหลี่ยมสีดำ เครื่องดับเพลิงชนิดนี้สามารถดับเพลิงประเภท ก ข และ ค ได้ด้วย
การดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพ ควรทราบประเภทของไฟที่เกิดจากสารเชื้อเพลิงต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถใช้สารดับเพลิงได้อย่างถูกต้องและเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เข้าไปดับไฟ

3. ชนิดของอุปกรณ์ดับไฟ มีหลายชนิดแต่ที่น่าสนใจและเหมาะกับเราๆท่านๆที่ควรรู้คือใช้เครื่องมือให้ตรงกับประเภทของไฟ เช่น

ถ้าไฟใหม้ประเภท C (จำได้ใหม๊เกิดจากอะไร)  เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ห้าม ดับด้วยน้ำเด็ดขาดเพราะไฟฟ้าจะช๊อต พี่วิทยากรเค้าเนอะนำว่า ถ้าเราเจอสถาการณ์ไฟใหม้แบบ C ให้ตั้งสติ (หลายเรื่องเลยเกิดอาไรก็ให้ตั้งสติ ) แล้วสับคัตเอาท์ หรือถอดปลั๊กต้นสาย แล้วไฟก็จะกลายเป็นชนิด A คือสามารถใช้น้ำดับได้ ดับไฟชนิด A ก็ให้ทำน้ำเป็นฝอยๆ บริเวณกว้างๆเหมือนเอามือบีบสายยางให้บานๆ เข้าใกล้ ก็จะดับได้ง่ายกว่า น้ำเส้นเล็กแต่แรง

หรือไฟใหม้ชนิด B คือน้ำมันหรือแก๊ส เอาน้ำดับไม่ได้มีแต่ทำให้มันวาบไฟ ลุดใหม้ไปกันใหญ่ พี่วิทยากรยกตัวอย่างผักบุ้งไฟแดง มันไฟแดงเพนสะน้ำมันมันร้อนมาก น้ำในจากผักไปช่วยให้ออกซิเจน ทำให้มันวาบไฟ ให้ใช้ดิน ทราย CO2 หรืออุปกรณ์ดับไฟชนิด B จะดับดีกว่า

หรือไฟใหม้ชนิด D เกิดจาก สารเคมีหรือโลหะ ก็ใช้น้ำไม่ได้ เพราะจะทำให้ยิ่งไฟลุก ผมนึกถึงหนังเรื่องหนึง จำไม่ได้แล้ว เค้าเรียกว่าไฟกรีก คือไฟที่เอาน้ำยิ่งดับยิ่งลุก ให้ใช้อุปกรณ์ดับประเภท D

สรุป ไฟเกิดจากองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ ความร้อน ออกซิเจน 16% และเชื่อเพลิง 3 อย่างนี้ เราตัดอาไรออกหรือทำให้องค์ประกอบไม่สมบูรณ์ ก็ดับไฟได้ เช่นดับเทียน โดยการเอาแก้วครอบ ตัดออกซิเจน  หรือ กองฝืนที่เอาฝืนออกจากกันให้หมด มันจะค่อยๆดับเอง

ที่ข้างๆถังอุปกรณ์ดับเพลิง ส่วนมากจะมีสัญลักษณ์อยู่แล้วว่าดับไฟประเภทใหนได้บ้าง เราต้องหัดสังเกตุ ผมเองก็พออบรมเสร็จก็กลับมาตรวจสอบ อุปกรณ์ EN3 เลย (อิอิ เห่อใหม๊นี่) ดูว่าที่ตั้งอยู่ยังไง อุปกร์ที่มีอยู่ยังใช้ได้หรือไม่ ดูที่ เกจวัดความดัน ใช้ดับไฟประเภทใหนได้บ้าง จะได้เป็นการเตรียมพร้อมไว้ก่อน เผื่อเกิดอาไรขึ้น แต่ไม่เกิดดีที่สุด

อันที่จริงผมก็อยากอาสาดูให้ทุกๆตึก เลย แต่ก็กลัวจะมีคนชัง อย่างว่าหละเนอะ คนรักเท่าผืนหนังคนชังเท่าผืนเสื่อ เดี๋ยวว่าข้ามหน้าข้ามตา อิอิ เอาเป็นว่าท่านใดต้องการความรู้เพิ่มเติม หรือให้ไปดูให้ ก็ 3378 แล้วกันนะครับ ที่จริงแล้วผมก็อยากมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรของเราให้มากกว่านี้ แต่ผมเองเป็นครูตัวเล็กๆ ทำไรไม่ได้มาก นี่ก็ว่าจะทำแผนหนีไฟ เวลาเกิดเพลิงใหม้ เพราะเห็นพี่วิทยากร บอกเป็นกฏหมายต้องมี เวลาไฟใหม้ เค้าถามหาแผน ถึงถามไม่ถาม มีไว้ก็ดีกว่าเนอะ หรือว่ามีอยู่แล้วผมไม่รู้ แล้วถ้ามี กี่คนในคณะที่รู้ต้องทำไง ผู้อ่านว่าใหม๊