ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิศวกรรมเครื่องกล , ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,ปร.ด.(วิศวกรรมเครื่องกล)
Doctor of Philosophy Program in Mechanical Engineering , Ph.D. (Mechanical Engineering)
 
ระยะเวลาการศึกษา
ใช้ระยะเวลาการศึกษา 3 ปี แบบเต็มเวลา  แต่ใช้เวลาการศึกษาอย่างมากไม่เกิน 5 ปี

แผนการศึกษา

แผนการศึกษาแบบ 1  นักศึกษาต้องลงทะเบียน จำนวนไม่น้อยกว่า 58 หน่วยกิต ประกอบด้วย
1)      หมวดวิชาพื้นฐาน        แบบไม่นับหน่วยกิต
2)      รายวิชาวิทยานิพนธ์     จำนวน 58 หน่วยกิต
เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำวิจัย มีการศึกษาในรายวิชาพื้นฐานตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนด โดยอาจมีการศึกษาเพิ่มเติมในบางรายวิชาตามที่อาจารย์ที่ปรึกษากำหนด โดยไม่นับหน่วยกิต แต่ต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด และอาจมีกิจกรรมวิชาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

รายวิชา

หมวดวิชาพื้นฐาน (Preparatory Courses)
1.  การสัมมนาและวิธีการวิจัย (Seminar and Research Methodology)
2.  เทคนิคทางคณิตศาสตร์เพื่อการประยุกต์  (Mathematical Techniques for Applications)
3.  วิธีการทดลอง และการวิเคราะห์ข้อมูล  (Experimental Method and Data Analysis)

หมวดวิชาเลือก (Electives)
เป็นรายวิชาที่บรรจุไว้ในหลักสูตร โดยอาจเปิดทำการสอนในบางภาคการศึกษา นักศึกษาสามารถลงทะเบียนศึกษาในรายวิชาเหล่านี้ได้
โดยไม่นับหน่วยกิต แต่ต้องสัมฤทธิ์ผลตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ให้อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้เห็นชอบให้เลือกลงในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายวิชาดังนี้

กลุ่มวิชาด้านกลศาสตร์ประยุกต์ (Applied Mechanics)
1.  ทฤษฎีทางด้านอีลาสติกซิตี   (Theory of Elasticity)
2.  ทฤษฎีทางด้านพลาสติกซิตี   (Theory of Plasticity)
3.  ทฤษฎีของแผ่นและของเปลือก  (Theory of Plates and Shells)
4.  การประมาณโดยไฟไนต์อิลิเมนต์เบื้องต้น  (Introduction to Finite Element Approximation)
5.  กลศาสตร์ของแข็งขั้นกลาง  (Intermediate Mechanics of Solid)
6.  ความล้า และการแตกร้าวของวัสดุเชิงวิศวกรรม(Fatigue and Fracture Mechanics in Engineering Material)
7.  การกระแทกของโครงสร้าง (Structural Impact)               
8.  การประยุกต์ใช้โปรแกรมทางไฟไนต์อิลิเมนต์เบื้องต้น(Introduction to a Finite Element Computer Package)
9.  เทคโนโลยีของการขึ้นรูปโลหะ  (Metal Forming Technology)
10.  กลศาสตร์วัสดุประกอบ  (Mechanics of Composite Materials)
 

กลุ่มวิชาเมคคาทรอนิคส์และการควบคุม (Mechatronics and Control)
1.  ระบบการควบคุมเชิงเส้น  (Linear Control Systems)        
2.  การควบคุมแบบโรบัสท์  (Robust and Decentralized Control)
3.  ระบบไมโครโปรเซสเซอร์สำหรับวิศวกรรมเครื่องกล
    (Microprocessor Systems for Mechanical Engineering)
4.  เทคโนโลยีเซ็นเซอร์และมาตรวิทยา (Metrology and Sensors)
5.  จลศาสตร์และพลศาสตร์ของกลไกและทฤษฎีการควบคุมหุ่นยนต์
    (Kinematics and Dynamics of Mechanisms and Robots Control Theory)
6.  เครื่องจักรกลอิเลคทรอนิกส์และการควบคุม  (Electromechanics and Mechanical Control)
7.  การควบคุมแบบไม่เป็นเชิงเส้น (Nonlinear Control Systems)
8.  เทคโนโลยีหุ่นยนต์และสายการประกอบ (Robotics Technology and Assembly Lines)
9.  กระบวนการอัตโนมัติในอุตสาหกรรม (Industrial Process Automation)
10.  มาตรวิทยาในกระบวนการทางอุตสาหกรรม (Industrial Process Metrology)
11.  ระบบควบคุมในเครื่องจักรกล (Control Systems for Machine Tools)      
12.  การสั่นสะเทือนทางกลขั้นสูง (Advanced Mechanical Vibration)
 

กลุ่มวิชาด้านของไหลและความร้อน (Thermal and Fluid)
1.  กลศาสตร์ของไหลขั้นสูง (Advanced Fluid Mechanics)      
2.  การถ่ายเทความร้อนขั้นสูงและการประยุกต์ในงานอุตสาหกรรม
    (Advanced Heat Transfer and Industrial Applications)
3.  วิศวกรรมอุณหพลศาสตร์ขั้นสูง (Advanced Engineering Thermodynamics)
4.  การคำนวณเชิงตัวเลขสำหรับพลศาสตร์ของไหล (Computational Fluid Dynamics)   
5.  การเผาไหม้และการถ่ายเทมวล (Combustion and Mass Transfer)
6.  การไหลแบบปั่นป่วน (Turbulent Shear Flow)      
7.  พลศาสตร์ของของไหลแบบอัดตัวได้  (Compressible Fluid Dynamics)
8.  การไหลแบบหลายเฟสและการถ่ายเทความร้อน (Multiphase Flow and Heat Transfer         )
9.  การเผาไหม้ของเครื่องยนต์สันดาบภายในขั้นสูง (Advanced Internal Combustion Engine)
10.  การควบคุมการถ่ายเทไอเสียจากเครื่องยนต์ (Engine Emissions and Control)
11.  การออกแบบระบบความร้อน (Design of Thermal Systems)
12.  ทำความเย็นและการปรับอากาศขั้นสูง (Advanced Refrigeration and Air Conditioning)
 

กลุ่มวิชาด้านพลังงาน (Energy)
1.  ทรัพยากรพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Resources)
2.  การเปลี่ยนรูปพลังงานมวลชีวภาพ (Biomass Energy Conversion)
3.  การจัดการพลังงานไฟฟ้า (Electric Energy Management)
4.  การวิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงาน (Energy Data Analysis)
6.  พลังงานแสงอาทิตย์ขั้นสูงและกระบวนการความร้อน   (Advanced Solar Energy of Thermal Process)
7.  การนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ (Waste Heat Recovery)
8.  เทคโนโลยีแก๊สธรรมชาติ (Natural Gas Technology)
9.  การใช้ประโยชน์พลังงานความร้อน  (Thermal Energy Utilization)
10.  เทคนิคการหาค่าเหมาะที่สุด (Optimization Techniques)

 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วศ.ม.(วิศวกรรมเครื่องกล)
Master of Engineering Program in Mechanical Engineering , M.Eng (Mechanical Engineering)
 
ระยะเวลาการศึกษา
เป็นหลักสูตร 2 ปี แบบเต็มเวลา แต่ไม่เกิน 4 ปี
 
แผนการศึกษา
            1. แผน ก แบบ ก (1) เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำวิจัยโดยมีวิทยานิพนธ์ นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียน
     รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 40 หน่วยกิต  ประกอบด้วย
         1)  วิทยานิพนธ์                    จำนวน 40  หน่วยกิต
         2)  หมวดรายวิชาพื้นฐาน         แบบไม่นับหน่วยกิต
 
            2. แผน ก แบบ ก (2) เป็นแผนการศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์
          รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 40 หน่วยกิต  ประกอบด้วย
                 1)  หมวดวิชาพื้นฐาน            จำนวน 7   หน่วยกิต
 2)  หมวดวิชาบังคับ              จำนวน 6   หน่วยกิต
 3)  หมวดวิชาเลือก                จำนวน 12  หน่วยกิต
 4)  วิทยานิพนธ์                    จำนวน  15  หน่วยกิต
 
รายวิชา
 
หมวดวิชาพื้นฐาน (Preparatory Courses)
   1.  การสัมมนาและวิธีการวิจัย (Seminar and Research Methodology)
   2.  เทคนิคทางคณิตศาสตร์เพื่อการประยุกต์  (Mathematical Techniques for Applications)
   3.  วิธีการทดลอง และการวิเคราะห์ข้อมูล (Experimental Method and Data Analysis)
 
หมวดวิชาบังคับ (Core Courses) จำนวน 12 หน่วยกิต
สำหรับหลักสูตรมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก (2) ให้นักศึกษาเลือกลงทะเบียนโดยความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนแบบ ก(1)  ให้อยู่ในดุลพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษาว่าจะให้ลงเรียนรายวิชาใดหรือไม่ โดยไม่นับหน่วยกิต หมวดวิชาบังคับให้เลือกจากรายวิชาต่อไปนี้ ทั้งนี้บางรายวิชาอาจไม่เปิดทำการสอนในบางภาคการศึกษา

กลุ่มวิชาด้านกลศาสตร์ประยุกต์ (Applied Mechanics)
1.  ทฤษฎีทางด้านอีลาสติกซิตี   (Theory of Elasticity)
2.  ทฤษฎีทางด้านพลาสติกซิตี   (Theory of Plasticity)
3.  ทฤษฎีแผ่นและของเปลือก    (Theory of Plates and Shells)
4.  การประมาณโดยไฟไนต์อิลิเมนต์เบื้องต้น  (Introduction to Finite Element Approximation) 

กลุ่มวิชาเมคคาทรอนิกส์และการควบคุม (Mechatronics and Control)
1.  ระบบการควบคุมเชิงเส้น  (Linear Control Systems)        
2.  การควบคุมแบบโรบัสท์   (Robust and Decentralized Control)
3.  ระบบไมโครโปรเซสเซอร์สำหรับวิศวกรรมเครื่องกล(Microprocessor Systems for Mechanical Engineering)
4.  เทคโนโลยีเซ็นเซอร์และมาตรวิทยา  (Metrology and Sensors)
5.  จลศาสตร์และพลศาสตร์ของกลไกและทฤษฎีการควบคุมหุ่นยนต์
    (Kinematics and Dynamics of Mechanisms and Robots Control Theory)
6.  เครื่องจักรกลอิเลคทรอนิกส์และการควบคุมทางกล (Electromechanics and Mechanical Control)

กลุ่มวิชาด้านของไหลและความร้อน (Thermal and Fluid)
1.  กลศาสตร์ของไหลขั้นสูง (Advanced Fluid Mechanics)      
2.  การถ่ายเทความร้อนขั้นสูงและการประยุกต์ในงานอุตสาหกรรม
    (Advanced Heat Transfer and Industrial Applications)
3.  วิศวกรรมอุณหพลศาสตร์ขั้นสูง (Advanced Engineering Thermodynamics)
4.  การคำนวณเชิงตัวเลขสำหรับพลศาสตร์ของไหล (Computational Fluid Dynamics)   
5.  การเผาไหม้และการถ่ายเทมวล (Combustion and Mass Transfer)
6.  การออกแบบระบบความร้อน (Design of Thermal Systems)

กลุ่มวิชาด้านพลังงาน (Energy)
1.  ทรัพยากรพลังงานหมุนเวียน   (Renewable Energy Resources)
2.  การวิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงาน (Energy Data Analysis)
3.  การเปลี่ยนรูปพลังงานในอุตสาหกรรม  (Energy Conversion for Industries)
4.  พลังงานแสงอาทิตย์ขั้นสูงและกระบวนการความร้อน   (Advanced Solar Energy of Thermal Process)
5.  การใช้ประโยชน์พลังงานความร้อน   (Thermal Energy Utilization)

 

หมวดวิชาเลือก (Electives) ให้นักศึกษาเลือกลงไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
สำหรับหลักสูตรมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก (2)  โดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา สำหรับหลักสูตรมหาบัณฑิตแผน ก แบบ ก(1) ให้เลือกลงได้ตามความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยไม่ต้องนับหน่วยกิต ทั้งนี้ให้เลือกรายวิชาจากรายวิชาเลือกดังต่อไปนี้

กลุ่มวิชาด้านกลศาสตร์ประยุกต์ (Applied Mechanics)
1.  กลศาสตร์ของแข็งขั้นกลาง (Intermediate Mechanics of Solid)
2. ความล้าและการแตกร้าวของวัสดุเชิงวิศวกรรม(Fatigue and Fracture Mechanics in Engineering Material)
3.  การกระแทกของโครงสร้าง (Structural Impact)               
4.  การประยุกต์ใช้โปรแกรมทางไฟไนต์อิลิเมนต์เบื้องต้น  (Introduction to a Finite Element Computer Package)
5.  เทคโนโลยีของการขึ้นรูปโลหะ (Metal Forming Technology)
6.  กลศาสตร์วัสดุประกอบ (Mechanics of Composite Materials)

กลุ่มวิชาเมคคาทรอนิคส์และการควบคุม (Mechatronics and Control)
1.  การควบคุมแบบไม่เป็นเชิงเส้น  (Nonlinear Control Systems)      
2.  เทคโนโลยีหุ่นยนต์และสายการประกอบ  (Robotics Technology and Assembly Lines)
3.  กระบวนการอัตโนมัติในอุตสาหกรรม (Industrial Process Automation)
4.  มาตรวิทยาในกระบวนการทางอุตสาหกรรม  (Industrial Process Metrology)
5.  ระบบควบคุมในเครื่องมือกล (Control Systems for Machine Tools)
6.  การสั่นสะเทือนทางกลขั้นสูง  (Advanced Mechanical Vibration)

กลุ่มวิชาด้านของไหลและความร้อน (Thermal and Fluid)
1.  การไหลแบบปั่นป่วน  (Turbulent Shear Flow)     
2.  พลศาสตร์ของของไหลแบบอัดตัวได้  (Compressible Fluid Dynamics)
3.  การไหลแบบหลายเฟสและการถ่ายเทความร้อน (Multiphase Flow and Heat Transfer)
4.  เครื่องยนต์เผาไหม้ภายในขั้นสูง (Advanced Internal Combustion Engine)
5.  การควบคุมการถ่ายเทไอเสียจากเครื่องยนต์ (Engine Emissions and Control)
6.  การทำความเย็นและการปรับอากาศขั้นสูง (Advanced Refrigeration and Air Conditioning)        

กลุ่มวิชาด้านพลังงาน (Energy)
1.  การเปลี่ยนรูปพลังงานมวลชีวภาพ  (Biomass Energy Conversion)
2.  การจัดการพลังงานไฟฟ้า  (Electric Energy Management)
3.  การนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ (Waste Heat Recovery)
4.  เทคโนโลยีแก๊สธรรมชาติ (Natural Gas Technology)
5.  เทคนิคการหาค่าเหมาะที่สุด (Optimization Techniques)
 

วิทยานิพนธ์ (Thesis)  ให้มีจำนวนหน่วยกิตตามที่กำหนดของแต่ละแผนการศึกษา ดังนี้
วิทยานิพนธ์สำหรับหลักสูตรมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก(1)           33 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์สำหรับหลักสูตรมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก(2)           15 หน่วยกิต

 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
(หลักสูตรปรับปรุง  พ.ศ. 2545)
 
ชื่อหลักสูตร
                   ภาษาไทย               วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
                   ภาษาอังกฤษ           Bachelor  Degree of Mechanical  Engineering
 
ชื่อปริญญา
                   ภาษาไทย               ชื่อเต็ม  : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)
                                                  ชื่อย่อ   : วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)
   ภาษาอังกฤษ           ชื่อเต็ม  :  Bachelor  of  Engineering (Mechanical  Engineering)
                                  ชื่อย่อ   :  B.Eng. (Mechanical  Engineering)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
                   ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล   คณะวิศวกรรมศาสตร์
                   มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  โทร. (045) 288376-8
 ปรัชญา
                   บัณฑิตทางวิศวกรรมศาสตร์ควรเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติสำคัญอย่างน้อย 4 ประการ คือ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการแยกแยะวิเคราะห์หาเหตุผลตามหลักการของแต่ละวิชา เป็นผู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองและอบรมตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดีตามมาตรฐานของจรรยาบรรณทางวิชาชีพ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
 
 วัตถุประสงค์
                   หลักสูตรวิศวกรรมบัณฑิตสาขาวิศวกรรมเครื่องกล  มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตวิศวกรรมเครื่องกล  ที่มี  คุณสมบัติตามปรัญญาและมีคุณภาพตามความต้องการของสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน    สามารถทำงานและแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ  ได้แก่  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานความร้อน   และพลังงานรูปแบบต่าง  ๆ   การออกแบบเครื่องยนต์ต้นกำลังและเครื่องจักรกลต่าง  ๆ  เช่น  เครื่องยนต์  กลไกของรถยนต์   เครื่องบิน   ยานพาหนะ   และเครื่องยนต์ในอุตสาหกรรม   การควบคุมทางไฮดรอลิก   การควบคุมทางนิวเมติกส์  การควบคุมโดยคอมพิวเตอร์  การหล่อลื่นเครื่องจักรกล  การออกแบบเครื่องกำเนิดพลังงานและเครื่องเปลี่ยนรูปพลังงานต่าง  ๆ  เช่น  เทอร์ไบน์  ปั๊ม  เครื่องปรับอากาศ  เครื่องทำความร้อน  หม้อน้ำร้อนในอุตสาหกรรม  การใช้เชื้อเพลิงและการประหยัดพลังงาน    เป็นต้น
 
กำหนดการเปิดสอน
             การดำเนินงานสอนตามหลักสูตรนี้จะเริ่มในปีการศึกษา 2545  เป็นต้นไป
 
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
             เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญหรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ที่กำหนดโดยสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
 วิธีการคัดเลือกเข้าศึกษา
             เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2534 โดยทำการสอบคัดเลือกผ่านทบวงมหาวิทยาลัยตามระเบียบการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาและการคัดเลือกนักเรียนที่สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าจากโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยสภามหาวิทยาลัย รวมทั้งการคัดเลือกนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า  เข้าศึกษาโดยวิธีอื่น ๆ ตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยสภามหาวิทยาลัย
ระบบการศึกษา
              เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2534 โดยจัดสอนตามระบบทวิภาค (semester) ต่อปีการศึกษา   ภาคการศึกษาปกติมีเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์   ลงทะเบียนเรียนไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยกิต  และไม่เกิน 22 หน่วยกิต
 
ระยะเวลาการศึกษา
                ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรคือ 8 ภาคการศึกษาปกติ นักศึกษาอาจจะศึกษาให้สำเร็จการศึกษาได้ในระยะเวลาน้อยกว่านี้  แต่ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า  6  ภาคการศึกษาปกติ  และอาจจะขยายเวลาการศึกษาออกไปได้ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา  โดยนับรวมเวลาที่ลาพักการศึกษาที่ได้รับอนุมัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
 
การลงทะเบียนเรียน
                 นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยกิต และอย่างมากไม่เกิน 22 หน่วยกิต นอกจากจะได้รับการอนุมัติจากคณบดีในกรณีพิเศษเป็นราย  ๆ ไป
 
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
                ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี  พ.ศ.2534
 
อาจารย์ผู้ทำการสอน
                  วิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และบางวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี  จะทำการสอนโดยคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และคณะบริหารศาสตร์ ส่วนวิชาในหมวดวิชาเฉพาะส่วนใหญ่จะทำการสอน โดยคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและอาจารย์พิเศษจากสถาบันการศึกษาอื่น หน่วยราชการ   รัฐวิสาหกิจ  และบริษัทเอกชน
 
 
ตัวอย่างแผนการลงทะเบียนศึกษาในช่วง 4 ปี ของการศึกษาปกติต่อไปนี้มีความเหมาะสมสำหรับนักศึกษาทุกคนที่อยู่ในสภาวะการศึกษาปกติ   เนื่องจากลำดับของการเรียนวิชาต่าง  ๆ   สอดคล้องกับลำดับก่อนหลังของเนื้อหาทางวิชาการและสภาพความเป็นอยู่ในมหาวิทยาลัยโดยสรุปได้ดังนี้
 
          ปีที่ 1 ศึกษาวิชาหมวดศึกษาทั่วไป
          ปีที่ 2 ศึกษาวิชาหมวดศึกษาทั่วไป และหมวดวิชาเฉพาะด้านในกลุ่มวิชาพื้นฐานวิศวกรรม
          ปีที่ 3 ศึกษาวิชาหมวดเฉพาะด้านในกลุ่มวิชาบังคับทางวิชาชีพ (เน้นหนักทฤษฎีและการวิเคราะห์)         
          ปีที่ 4 ศึกษาวิชาหมวดเฉพาะด้านในกลุ่มวิชาบังคับทางวิชาชีพ (เน้นหนักการออกแบบและการจัดการ) กลุ่มวิชาเลือก ทางวิชาชีพ  วิชาเลือกเสรี และงานโครงการ