หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
(หลักสูตรปรับปรุง  พ.ศ. 2545)
 
ชื่อหลักสูตร
                   ภาษาไทย               วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
                   ภาษาอังกฤษ           Bachelor  Degree of Mechanical  Engineering
 
ชื่อปริญญา
                   ภาษาไทย               ชื่อเต็ม  : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)
                                                  ชื่อย่อ   : วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)
   ภาษาอังกฤษ           ชื่อเต็ม  :  Bachelor  of  Engineering (Mechanical  Engineering)
                                  ชื่อย่อ   :  B.Eng. (Mechanical  Engineering)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
                   ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล   คณะวิศวกรรมศาสตร์
                   มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  โทร. (045) 288376-8
 ปรัชญา
                   บัณฑิตทางวิศวกรรมศาสตร์ควรเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติสำคัญอย่างน้อย 4 ประการ คือ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการแยกแยะวิเคราะห์หาเหตุผลตามหลักการของแต่ละวิชา เป็นผู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองและอบรมตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดีตามมาตรฐานของจรรยาบรรณทางวิชาชีพ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
 
 วัตถุประสงค์
                   หลักสูตรวิศวกรรมบัณฑิตสาขาวิศวกรรมเครื่องกล  มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตวิศวกรรมเครื่องกล  ที่มี  คุณสมบัติตามปรัญญาและมีคุณภาพตามความต้องการของสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน    สามารถทำงานและแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ  ได้แก่  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานความร้อน   และพลังงานรูปแบบต่าง  ๆ   การออกแบบเครื่องยนต์ต้นกำลังและเครื่องจักรกลต่าง  ๆ  เช่น  เครื่องยนต์  กลไกของรถยนต์   เครื่องบิน   ยานพาหนะ   และเครื่องยนต์ในอุตสาหกรรม   การควบคุมทางไฮดรอลิก   การควบคุมทางนิวเมติกส์  การควบคุมโดยคอมพิวเตอร์  การหล่อลื่นเครื่องจักรกล  การออกแบบเครื่องกำเนิดพลังงานและเครื่องเปลี่ยนรูปพลังงานต่าง  ๆ  เช่น  เทอร์ไบน์  ปั๊ม  เครื่องปรับอากาศ  เครื่องทำความร้อน  หม้อน้ำร้อนในอุตสาหกรรม  การใช้เชื้อเพลิงและการประหยัดพลังงาน    เป็นต้น
 
กำหนดการเปิดสอน
             การดำเนินงานสอนตามหลักสูตรนี้จะเริ่มในปีการศึกษา 2545  เป็นต้นไป
 
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
             เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญหรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ที่กำหนดโดยสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
 วิธีการคัดเลือกเข้าศึกษา
             เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2534 โดยทำการสอบคัดเลือกผ่านทบวงมหาวิทยาลัยตามระเบียบการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาและการคัดเลือกนักเรียนที่สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าจากโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยสภามหาวิทยาลัย รวมทั้งการคัดเลือกนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า  เข้าศึกษาโดยวิธีอื่น ๆ ตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยสภามหาวิทยาลัย
ระบบการศึกษา
              เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2534 โดยจัดสอนตามระบบทวิภาค (semester) ต่อปีการศึกษา   ภาคการศึกษาปกติมีเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์   ลงทะเบียนเรียนไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยกิต  และไม่เกิน 22 หน่วยกิต
 
ระยะเวลาการศึกษา
                ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรคือ 8 ภาคการศึกษาปกติ นักศึกษาอาจจะศึกษาให้สำเร็จการศึกษาได้ในระยะเวลาน้อยกว่านี้  แต่ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า  6  ภาคการศึกษาปกติ  และอาจจะขยายเวลาการศึกษาออกไปได้ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา  โดยนับรวมเวลาที่ลาพักการศึกษาที่ได้รับอนุมัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
 
การลงทะเบียนเรียน
                 นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 10 หน่วยกิต และอย่างมากไม่เกิน 22 หน่วยกิต นอกจากจะได้รับการอนุมัติจากคณบดีในกรณีพิเศษเป็นราย  ๆ ไป
 
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
                ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี  พ.ศ.2534
 
อาจารย์ผู้ทำการสอน
                  วิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และบางวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี  จะทำการสอนโดยคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และคณะบริหารศาสตร์ ส่วนวิชาในหมวดวิชาเฉพาะส่วนใหญ่จะทำการสอน โดยคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและอาจารย์พิเศษจากสถาบันการศึกษาอื่น หน่วยราชการ   รัฐวิสาหกิจ  และบริษัทเอกชน
 
 
ตัวอย่างแผนการลงทะเบียนศึกษาในช่วง 4 ปี ของการศึกษาปกติต่อไปนี้มีความเหมาะสมสำหรับนักศึกษาทุกคนที่อยู่ในสภาวะการศึกษาปกติ   เนื่องจากลำดับของการเรียนวิชาต่าง  ๆ   สอดคล้องกับลำดับก่อนหลังของเนื้อหาทางวิชาการและสภาพความเป็นอยู่ในมหาวิทยาลัยโดยสรุปได้ดังนี้
 
          ปีที่ 1 ศึกษาวิชาหมวดศึกษาทั่วไป
          ปีที่ 2 ศึกษาวิชาหมวดศึกษาทั่วไป และหมวดวิชาเฉพาะด้านในกลุ่มวิชาพื้นฐานวิศวกรรม
          ปีที่ 3 ศึกษาวิชาหมวดเฉพาะด้านในกลุ่มวิชาบังคับทางวิชาชีพ (เน้นหนักทฤษฎีและการวิเคราะห์)         
          ปีที่ 4 ศึกษาวิชาหมวดเฉพาะด้านในกลุ่มวิชาบังคับทางวิชาชีพ (เน้นหนักการออกแบบและการจัดการ) กลุ่มวิชาเลือก ทางวิชาชีพ  วิชาเลือกเสรี และงานโครงการ