officeblog

เราควรแสดงท่าทีอย่างไรต่อการรวมคณะศิลปะประยุกต์และการออกแบบเข้ามาในคณะวิศวะ

สิ่งที่จะต้องพิจารณาเรื่องนี้มี 3-4 เรื่อง คือ

1.หลักสูตร ปรัชญาของหลักสูตร ศิลปะประยุกต์ นั้น มุ่งเน้นไปคนละทางกับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์

ดังนั้นการจัดการให้ 2 แนวทางมาอยู่ในคณะเดียวกัน ย่อมทำได้ยาก แต่หากจะเปลี่ยนเนื้อหามาเป็นกลุ่มวิชา Industrial Design ก็ไม่มีความจำเป็นเพราะในสาขาIE ก็มีสอนเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว

2.เราจะยอมรับนักศึกษาปัจจุบันซึ่งตามคะแนนสอบแล้ว ต่ำกว่าคะแนนวิศวะได้หรือไม่ (ในทางปฏิบัติ นศ.ปัจจุบันของ หลักสูตรต้องเรียนไปจนจบแล้วจึงค่อยๆสลายหลักสูตรไป)

3.อาจารย์ ทั้งหมดของศิลปะประยุกต์ ไม่มีคุณวุฒิทางวิศวกรรมศาสตร์ ดังนั้น ภาระที่จะโอนอาจารย์คณะศิลปะประยุกต์มาเป็นอาจารย์วิศวะคงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ ในเหตุผลทางมาตรฐานวิชาชีพและเหตุผลด้านการประกันคุณภาพ

4.บุคลากรในในกลุ่มสนับสนุนหากมีความจำเป็นต้องผนวกเข้ามาในบางส่วนที่ยังขาดแคลนก็เป็นไปได้ แต่ หากคำนึงถึงเหตุผลเรื่องงบประมาณในการบริหารจัดการแล้ว เป็นภาระที่คณะคงไม่สามารถรับได้เพราะ เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างสูง เมื่อเทียบกับผลผลิตที่จะได้

5.ชาวคณะวิศวกรรมศาสตร์ คิดอย่างไร?

ทำงานไปวัน ๆ หรือ  นี่เป็นอนาคตของคณะ นะครับ ผมคิดว่าเราทุกคนต้องมีส่วนในการตัดสินใจด้วย

เราควรให้ความสุขแก่องค์กรตามอัตภาพ

วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ในปีนี้ตรงกับวันที่  15 กรกฎาคม 2554  เป็นวันอาสาฬหบูชา ถือเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์  ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี   ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรก คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร

คำสอนของพระพุทธเจ้าสั่งสอนพวกเราอะไรนั้นมีอยู่มากมายแต่หากจะเอาเรื่องที่เกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชานี้ ก็น่าจะเป็นเรื่อง ใจความสำคัญของปฐมเทศนา ซึ่งมีหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการคือ 1. มัชฌิมาปฏิปทา กับ 2. เรื่อง อริยสัจ 4

เรื่องที่อยากเขียนวันนี้ เป็น เรื่อง มัชฌิมาปฏิปทา (เพิ่มเติม…)

การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย R2R- Routine to Research

เมื่อ 05-07-54 ผมไปเข้าร่วมกิจกรรม “การจัดการความรู้กับการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย R2R- Routine to Research” ที่วิทยาลัยแพทย์ มอบ. ถือเป็นหนึ่งวันที่ไม่สูญเปล่า เพราะได้รับฟังประสบการณ์ของ ดร.นิภาพร ลครวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญ ด้าน R2R  เลยมีเรื่องมาเขียน ดังนี้

1.การจุดประเด็นความคิด ว่า

เดี๋ยวนี้การเรียนรู้ การสอนนักศึกษา การสอนคน เราสอนกันแบบ บอกความรู้ คือใครไปเรียนอะไรมา ก็จำมาบอกคนอื่นต่อ ใครจำจากพระอาจารย์ได้มาก ก็มาสอนได้มาก ถือว่าสอนเก่ง ลูกศิษย์ต้องเรียนจากอาจารย์  อาจารย์ (บางคน..ไม่ใช่ทุกคน)เก่งแล้ว ทำใมต้องไปเรียนรู้จากลูกศิษย์ เราไม่สอนให้คนเกิดความคิด หรือการค้นพบความรู้ด้วนตนเอง ซึ่ง จริงๆแล้วพระพุทธเจ้าสอนไว้ตั้งแต่ 2500 ปี ว่า ความรู้เกิดจากการตั้งข้อสงสัย คิด ใคร่ครวญ หาคำตอบ การค้นพบคำตอบทำให้เราเข้าใจว่า สิ่งนี้เกิด เพราะสิ่งนี้ (หลัก เหตุ-ปัจจัย) ถ้าเราเข้าใจอย่างนั้นแปลว่าเราเกิดความรู้ และถ้ารู้ว่าสิ่งต่างๆมันเชื่อมโยงไปถึงกันอย่างไร อย่างนี้เรียกว่า “มีปัญญา” การมีความรู้และมีปัญญา ไม่ต้องจำ ไม่ต้องท่อง คือมันเข้าใจอยู่แล้ว ถามเมื่อไหร่ก็ตอบได้เมื่อนั้น แถมเราจะสามารถอธิบายเรื่องยากๆ ให้เป็นเรื่องง่ายได้  แต่ถ้าไปท่องมาตอบแบบไม่เข้าใจแล้ว เวลาอธิบายให้คนอื่นฟัง อย่าหวังว่าจะง่าย แถมทำให้เข้าใจยากขึ้นไปอีก  เหมือนเราเข้าใจว่า ทำไมคนต้องกินข้าว ต้องดื่มน้ำ นั่นเอง  ดังนั้น การสอนคนจึงต้องสอนให้คิด ถ้าคิดได้ตามหลักเหตุผล ก็หาความรู้ได้ และการหาความรู้จะเป็นเรื่องสนุก
น่าติดตาม

ลองสำรวจตัวเอง ซิ ว่าเราเป็นแบบนี้ไหม ?

R2R จึงเป็นการเรียนรู้จากงานประจำ ย้ำ ว่างานประจำของตัวเอง  อย่าเที่ยวไปสาระแน รู้เรื่องคนอื่นเขา เหมือน ที่มีคนเคยถูกเหน็บว่า “ รู้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่องของตัวเอง เก่งทุกงานยกเว้นงานในหน้าที่ และอยู่ทุกที่ ยกเว้นที่ทำงานของตัวเอง” ดังนั้น คนที่ สามารถ ทำ R2R ได้ ก็คือทุกคนที่มีงานประจำ ถ้าทำตามนี้

สำรวจงานตัวเอง ว่า มีจดไหน เรื่องไหนที่มันกระตุก ต่อม “เอ๊ะ” เราบ้าง  เช่น

เอ๊ะ..ทำไม ส่งหนังสือไปภาคเครื่องกล มันดันไปโผล่ที่ภาคไฟฟ้า บ่อยๆ

เอ๊ะ..ทำไม 3วันแล้ว เรื่องที่ปั้ม “ด่วนที่สุด ยังไปไม่ถึงปลายทางซะที

เอ๊ะ..วันหนึ่งเราต้องเดินไปส่งงานตึกโน้น ตึกนี้รวมแล้วก่กิโลเมตรนะ ถ้าจะไม่ต้องเหนื่อยขนาดนั้นจะทำยังไง

เอ๊ะ..ทำไม……..

ถ้าเรา เอ๊ะ..ทำไม……..ได้ เราก็ทำ R2R ได้

เชื่อว่าทุกคนย่อมอยากทำงานในหน้าที่ให้สำเร็จ มีผลงานดีขึ้น และถ้าทำได้ เราต้องรู้สึกอยู่ 2 อย่าง คือ 1) ภูมิใจ  2) ปลื้มใจ  ใครไม่รู้สึก 2 อย่างนี้แปลว่าที่ทำๆมาน่ะ ทำแบบขอไปที่ ไม่ได้สนใจว่าทำไปเพื่ออะไร… (และขอแนะนำให้รีบลาออกไปโดยด่วน อยู่ไปก็เป็นตัวถ่วงความเจริญ)

ต่อจาก ข้อ 1)+2) เชื่อว่า คนๆนั้น ต้องมี “เรื่องเล่าที่เราภูมิใจ”เป็นของตัวเอง แน่นอน เพราะใครๆก็อยากเล่าเรื่องความสำเร็จของตนเองให้คนอื่นฟัง ( การทำ KM ด้วยวิธีนี้ จึงได้ผลดี)

กระบวนท่า R2R

1.หาปัญหา (ทุกข์:ค้นหาความทุกข์)

2.หาสาเหตุของปัญหา (สมุทัย:ค้นหาเหตุแห่งความทุกข์)

3.การแก้ปัญหามองหากระบวนการแก้ปัญหา (นิโรธ:การดับความทุกข์)

4.แนวทางดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหา

คือ ลงมือปฏิบัติเพื่อพิสูจน์+เก็บข้อมูล+รายงาน+บันทึกบทเรียน(มรรค:หนทางเพื่อการดับทุกข์)

2.ทำไม สายสนับสนุนจึงไม่ต้องกังวลสำหรับ R2R

  1. “ไม่” ต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัย
  2. “ไม่”ใช่งานวิจัยที่ทำแล้วเอาไปขึ้นหิ้ง
  3. “ไม่”ใช่โจทย์วิจัยแบบนักวิชาการ  แต่โจทย์มาจากงานสายสนับสนุน
  4. “ไม่”ทำคนเดียว แต่ทำเป็นทีม
  5. “ไม่”เคยมีความรู้เรื่องทำวิจัยก็ทำ R2R ได้ เรียนรู้จากการทำจริง และมี “คุณอำนวย” ค่อยช่วยเหลือ
  6. R2R “ไม่”ได้เริ่มจากการอยากทำงานวิจัย แต่ ต้องเริ่มจากการอยากพัฒนางาน
  7. “ไม่”ต้องเริ่มจากการศึกษาระเบียบวิธีวิจัย แต่เริ่มจากการ “หาประเด็นคำถาม”จากงานประจำ และสืบค้นข้อมูลเพื่อสนับสนุนประเด็นนั้น
  8. “ไม่”ต้องการทุนวิจัยจำนวนมาก และอาจไม่มีค่าใช้จ่ายเลย
  9. “ไม่”ได้วัดความสำเร็จจากจำนวนงานวิจัย แต่วัดจากการนำไปใช้ประโยชน์
  10. R2R “ไม่ใช่”งานวิจัยชั้น 2 แต่งานวิจัย R2R ต้องมีความแม่นยำเชื่อถือได้ (ส่วนใหญ่ไม่ต้องทำตามระเบียบวิธีวิจัยและไม่ต้องทำการวิเคราะห์ทางสถิติที่ซับซ้อน)

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

http://gotoknow/post/tag2r2r

www.hsri.or.th/r2r

kapoom@gmail.com

http://gotoknow.org/planet/kapoom

http://file.portal.in.th/phueng1909/PDF/R2R.pdf

ทำงาน ต้อง “ทำเป็น” ไม่ใช่ “ทำแค่ให้เสร็จ”

หลายคนทำงานมาหลายปีแต่ก็ยังพบว่าตนเองยังงงๆ กับหลายเรื่อง ทั้งๆที่ ก็บอกว่าทำเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่ทำไม ยังผิดพลาด หรือต้องแก้ไข ..ต้องบอกว่า การทำงาน นั้นต้อง “ทำเป็น” ไม่ใช่ “ทำให้เสร็จ”อย่างเดียว เพราะงานที่เสร็จนั้น ยังต้องรอลุ้นก่อนว่า “ถูก หรือผิด”   แต่ถ้า “ทำเป็น” แล้ว รับรองว่าไม่ผิด หรือถ้าหากมีคนมาทักท้วง ก็ “อธิบายได้”

มาลองทบทวนดู ว่าเราทำงานอย่างนี้หรือเปล่า

  1. ต้องรู้ว่าการเป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของรัฐนั้น ทุกคนมีศักดิ์ “เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ”  มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนั้นงานทุกอย่างจึงต้อง “รับผิดและรับชอบ” ดังนั้น เราต้องศึกษาก่อนว่า กฎหมายที่ “คุ้มหัว” เรา ให้อำนาจเราทำงานนั้นได้ คือกฎหมายอะไร เขียนถึงบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบไว้อย่างไร เช่น

พรบ. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นกฎหมายสูงสุดของมหาวิทยาลัยในเรื่ององค์กร โครงสร้าง หน้าที่ การบริหาร

พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ถือเป็นกฎหมายสูงสุดด้านบริหารงานบุคคล

ระเบียบกระทรวงการคลัง เป็นกฎหมายสูงสุดด้านการเงินการคลัง

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุเป็นกฎหมายสูงสุดด้านการบริหารงานพัสดุ

พรบ.การศึกษาแห่งชาติ เป็นกฎหมายสูงสุดด้านการศึกษาและประกาศกระทรวงศึกษาว่าด้วยเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี 48 เป็นกฎหมายที่สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนระดับอุดมศึกษา (เพิ่มเติม…)

ข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงาน(ร่าง)

ในฐานะที่ผมเป็นผู้แทนคณะไปร่วมร่างข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงาน

ขอแจ้งความคืบหน้า ดังนี้ครับ

ตอนนี้น่าจะเป็นรูปร่างมากขึ้นแล้ว แต่ต้องเสนอ กบบ.ก่อน

ผมมีร่างให้ดูไปก่อนครับ ท่านใดมีข้อคิดเห็นเพิ่มโปรด ให้ comment กลับหน่อยแล้วกัน

http://www.eng.ubu.ac.th/~personnel/law/list%20of%20law%20directory/6.UBU_law/personnel%20law%20UBU%202554.doc

ผลสำรวจความพึงพอใจในการดำเนินงานของคณะ

ผลสำรวจความพึงพอใจในการดำเนินงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในปีการศึกษา 2553 ( มิถุนายน2553-พฤษถาคม 2554 )

การประเมินนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารงานและการดำเนินงานของคณะในปีการศึกษา 2553 เป็นการศึกษาเชิงสำรวจโดยใช้แบบสำรวจอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรทุกสายงาน ได้แก่ เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนและคณาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ แบบสุ่มตัวอย่าง โดยแจ้งประชาสัมพันธ์ไปยังบุคลากรเพื่อให้เข้าไปกรอกแบบสำรวจผ่านระบบ Questionnaire Manager System ที่ เว็บไซด์ http://app.eng.ubu.ac.th/~qms/questionnaireและโดยการตอบแบบสอบถามที่ได้รับแจกไป ผลการสำรวจจากแบบสอบถามทั้งหมดที่แจกไป มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 47 คน คิดเป็นร้อยละ 33.60 ผลการสำรวจพบว่า ด้านความชัดเจนของเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแผนการดำเนินงาน ด้านความเหมาะสมนโยบายในการดำเนินงานด้านต่างๆ ด้านความเพียงพอของอาคารสถานที่ ระบบสาธารณูปโภค สำหรับการปฏิบัติงาน ด้านสภาพแวดล้อมที่ดี มีสุขอนามัย และเหมาะสมในการปฏิบัติงาน ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านการบริหารงานด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม
มีธรรมาภิบาล บุคลากรได้รับโอกาสและได้รับการจัดการความรู้และได้รับสนับสนุนในการพัฒนาความรู้ ความสามารถเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ด้านการจัดสวัสดิการ ค่าตอบแทนที่เหมาะสม และด้านความเพียงพอและเหมาะสมของบุคลากรปฏิบัติงาน ด้านความสามัคคีปรองดองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันของบุคลากรของคณะ ด้านการสนับสนุนวัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ในการทำงานอย่างเพียงพอและเหมาะสม รวม 11 ด้าน มีความพึงพอใจในระดับปานกลางทุกเรื่อง และในรอบปีการศึกษาที่ผ่านมามีความคิดในเปลี่ยนงาน โอนย้าย ระดับน้อย ทั้งนี้ บุคลากรของคณะทราบดีว่าคณะได้มีการดำเนินการตามเกณฑ์ดังกล่าวในระบบการประกันคุณภาพของคณะอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะว่าการมีระเบียบมากเกินไป ทำให้การทำงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ บรรลุแต่ขั้นตอนของการทำงาน เอกสาร บางกฎเป็นตัวบั่นทอนความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลากร ควรแจ้งผลการประเมินให้บุคลากรทราบโดยทั่วถึงกัน กรณีที่ผลการประเมินในส่วนใดที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด ควรมีมาตรการปรับปรุงพัฒนาที่เป็นรูปธรรมด้วย

ยินดีต้อนรับน้องใหม่2554

สำนักงานเลขานุการ ยินดีต้อนรับน้องใหม่2554 ครับ   ภาพวันสอบสัมภาษณ์ freshy2554

แนะนำสำนักงานเลขานุการคณะฯ

ในบรรดาหน่วยงานหลักหกหน่วยงาน นั้น  มีห้าหน่วยงาน ที่ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอน คือ ภาควิชา ทั้ง ห้าภาควิชา แต่มีหนึ่งหน่วยงาน คือ สำนักงานเลขานุการที่รับผิดชอบงานบริหารจัดการทั่วไป  โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติงานและบุคลากรที่รับผิดชอบในด้านต่าง ๆ คือ งานสารบรรณ -การรับส่งเอกสาร การเสนอหนังสือ การออกเลขทะเบียนหนังสือส่ง และส่งหนังสือราชการทั้งภายใน และภายนอกคณะฯ   งานการเจ้าหน้าที่ -ด้านบุคคลสำหรับบุคลากรในคณะ งานข้อมูลทะเบียนประวัติ การพัฒนาบุคลากร และงานด้านสวัสดิการสำหรับบุคลากร   งานโยบายและแผน -จัดทำแผนงานจัดทำคำของบประมาณประจำปี ทำการวิเคราะห์รวมสรุปข้อมูลในด้านต่างๆ  งานประเมินผลการดำเนินงานของ หน่วยผลิตเอกสาร ทำหน้าที่ผลิตเอกสารประกอบการเรียนการสอนหน่วยภูมิทัศน์ -ดูแลภูมิทัศน์ รอบๆ อาคาร หน่วยซ่อมบำรุง- ซ่อมบำรุงอาคารสถานที่ ระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า  ประปา สุขภัณฑ์ โทรศัพท์  อุปกรณ์การศึกษาครุภัณฑ์  เครื่องจักรกลในอาคารปฏิบัติการ  เครื่องปรับอากาศ  งานการเงิน – การเบิกจ่าย
เงินงบประมาณแผ่นดินในทุกหมวด  การจัดทำบัญชีที่เกี่ยวข้องกับระบบการเงิน  งานพัสดุ - การจัดซื้อครุภัณฑ์ และวัสดุ การจ้างเหมาบริการ การทำทะเบียนควบคุมครุภัณฑ์และวัสดุ ส่งซ่อมบำรุง (เพิ่มเติม…)

กบข.พบสมาชิก

กบข.พบสมาชิก มีเรื่องน่าสนใจเพียบ เชิญอ่าน…..กบข54

จดหมายข่าวเดือนเมษายน 2554

จดหมายข่าวเดือนเมษายน 2554

Newsletter_1.2011

ม.อุบล น่าอยู่ UBU watch

เมื่อ 19 -05-2554 ผมไปเข้าร่วมประชุม โครงการ ม.อุบล น่าอยู่ UBU watch ซึ่งเป็นโครงการของงานกิจการนักศึกษา ม.อุบลฯ เลยมีเรื่องมาเล่าว่า ปัจจุบัน ม.อุบล เรามีนักศึกษาประมาณ 14,000 คน  และส่งที่ทุกคนทราบดีก็คือ สภาพต่างๆนั้น เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก กายภาพเจริญขึ้น สิ่งแวดล้อมแย่ลง อาชญากรรมเพิ่มขึ้น ปัญหายาเสพติดรุนแรง ศีลธรรมเสื่อม สังคมวัฒนธรรมย่ำแย่ แม้กระทั่งหมาจรจัดก็มากขึ้นด้วย

ปัญหาที่พบและควรมีการจัดระเบียบ ได้แก่

1.ระเบียบวินัยด้านการจราจร

2.พอพักนักศึกษาไม่ปฏิบัตตามกฎหมาย

3.สถานบันเทิงเปิดเกินเวลา ร้านค้าจำหน่ายสินค้าต้องห้าม

4.อาชญากรรม ลักขโมย ปล้นจี้

(เพิ่มเติม…)