สัมมาทิฏฐิ

วันวิสาขบูชาไปทำบุญหลายที่ เห็นความแตกต่างของวัด ความคิด ความเชื่อ วัดป่า วัดบ้าน พุทธเหมือนกันแต่ คิดไม่เหมือน ทำไม่เหมือน เื่ชื่อไม่เหมือน นั่งดูไปก็อดคิดไม่ได้ว่าคนเราทำบุญด้วยความคาดหวังที่ต่างกันจริงๆ นั่นเป็นเพราะสิ่งหนึ่งที่ไม่เหมือนกัน คือ “สัมมาทิฏฐิ” การทำความเห็นให้ถูกต้อง ความเห็นนี้ก็คือความเชื่อว่าสิ่งที่เราทำนั่นถูกแล้ว ดีแล้ว ซึ่งตีความเอาเองตามความคิดของใครของมัน นั่น ตัวอย่างที่เห็นมากที่สุด คือ ความคิดที่ว่า กรรมแก้ได้ ดังนั้น ทำชั่วไปเถอะ โกงกิน เบียดเบียนไป เดี๋ยวก็มีหมอดูมาบอกเองว่า เคยทำอะไรไม่ดีไว้ ต้องแก้กรรมอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างที่แม่ชีทศพร บอกให้ หญิงคนหนึ่งต้องไป “เอา”ผู้ชายเพื่อแก้กรรม ตัวอย่างอันหนึ่งที่เห็นในวัดแห่งหนึ่ง มีแม่ชีคนหนึ่งแกเดินแจกกระดาษ A4 แล้วขอใ้หเราช่วยแจก อ่านดูแล้วก็เป็นคำขอขมา พระรัตนตรัย “สัพพัง อะปะราทัง ……” ด้านหลังบอกมีเรื่องพญานาคมาจุติเป็นที่วัดแห่งหนึ่งเพื่อบำบัดปัดเป่าความชั่วร้าย คนที่ประสบเรื่องนี้บอกให้เอาใบพิมพ์แจก 1000 ใบ จะได้ลาภยศ ร่ำรวย  อยู่ๆก็มีเงินมีทองขึ้นมา คนที่ได้รับต่อก็ต้องพิมพ์ต่อ 
มันก็ไม่ต่างอะไรจากจดหมายลูกโซ่…. โกหกในวัดชัดๆ ก็น่าสมเพชที่ชาวพุทธไม่รู้จักคำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องกาลามสูตร  คนจะรวยต้องขยันทำมาหากิน ไม่ได้รวยจากกการพิมพ์จดหมายลูกโซ่ นี่เป็นการขาด สัมมาทิฏฐิ คือการทำความเห็นให้ถูกต้องก่อนว่าคนจะรวยได้ต้องขยันทำมาหากิน ไม่ได้รวยจากกการพิมพ์จดหมายลูกโซ่ .. อ่านแล้วลองคิดดูนะขอรับท่านผู้มีความรู้ทั้งหลาย มีกูรูท่านหนึ่งให้ความเห็นที่ดี เกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า การจะมี ความเห็นที่ถูกต้องได้นั้น ต้องใช้ ๑. ปรโตโมสะ (เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียนความรู้ สนทนาซักถาม
ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร :
another’ s utterance; inducement by others; hearing or learning from others)

๒. โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น  คือกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหานั้น ๆ ออก
ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย : reasoned attention; systematic attention; genetical reflection; analytical reflection)
ข้อธรรม ๒ อย่างนี้ ได้แก่ ธรรมหมวดที่ (๑) และ (๒) นั่นเอง แปลอย่างปัจจุบันว่า “องค์ประกอบของการศึกษา” หรือ “บุพภาคของการศึกษา” โดยเฉพาะข้อที่ ๑ ในที่นี้ใช้คำกว้าง ๆ
แต่ธรรมที่ต้องการเน้น ก็คือ กัลยาณมิตตตา  ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ อย่าง คือ ปรโตโฆสะ
และ อโยนิโสมนสิการ